ในวันที่ค่าไฟแพง การเปลี่ยนมามาใช้โคมไฮเบย์ (High Bay) LED ทั้งในส่วนโรงงาน,โกดัง และพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ในส่วนของแสงสว่าง เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน บทความนี้ เรามาทำความรู้จัก การแบ่งประเภทของโคมไฟ ไฮเบย์LED แบบมืออาชีพ สามารถเลือก โคมไฟได้อย่างเหมาะสม กับการใช้งาน, คุ้มค่ากับการลงทุน และประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษา
คลิกเลือกรุ่น โคมไฟไฮเบย์
โลว์เบย์
โคมประเภทนี้ เหมาะกับการติดตั้งชที่ความสูงติดตั้งไม่เกิน 3.5 เมตรในการ โดยในการใช้งานลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า โลว์เบย์ (Low Bay) เนื่องจากโคมไฟอยู่ต่ำ จึงควรเลือกใช้มุมกระจายแสงที่มีมุมกว้าง เช่น 90° ไปจนถึง 120° เพื่อให้ได้การกระจายแสงที่ครอบคลุมพื้นที่จำนวนมาก
ข้อควรระวังในการใช้งาน
ในการใช้งานลักษณะนี้ จะต้องคำนึงถึงเรื่องแสงแย้งตาเป็นสำคัญ เนื่องจากโคมไฟอยู่ต่ำ ใกล้ระยะที่คนสามารถมองเห็นได้ง่าย และ เนื่องจากโคมไฟโลว์เบย์ มีแหล่งกำเนิดแสงที่มีขนาดเล็ก แต่มีค่าลูเมนสูง ส่งผลให้เกิดแสงแย้งตา (Glare) ได้ง่าย
ข้อแนะนำ
เนื่องจากผลของแสงแย้งตา จึงควรเลือกโคมไฟโวเบย์ ดังนี้ เพื่อป้องกัน หรือ ลดแสงแย้งตาลง
- ที่ใช้ฝาชี (Reflector) เป็นตัวควบคุมการกระจายแสง
- มีฝาครอบแหล่งกำเนินแสง ที่มีสีขาวขุ่น
อ่านบทความเพิ่มเติม โคมโลว์เบย์คือ อะไร
ไฮเบย์ (High Bay)
โคมประเภทนี้ เหมาะกับการติดตั้งช ที่ความสูง ตั้งแต่ 4.5 เมตรขึ้นไป ในการใช้งานลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า ไฮเบย์ (High Bay) ในการใช้งาน เพื่อให้ครอบคุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้ใช้จำนวนโคมไฟน้อย ประหยัดทั้งค่าพลังงาน และ งบประมาณในการดูแลรักษา ในการใช้งานจะมีมุมกระจายแสง ตั้งแต่มุมกระจายแสง ที่กว้างมากๆ เช่น 120° จนกระทั่งมุมกระจายแสงที่แคบมากเช่น 25° เป็นต้น
ในการเลือกใช้มุมกระจายแสงที่เหมาะสม จะทำให้ได้ทั้งค่าความสว่าง (ค่าลักซ์) ผ่านตามเกณฑ์การใช้งาน และกฎหมาย และยังมีความสม่ำเสมอของแสง (Uniformity) ที่ดี และยังส่งผลให้ประหยัดพลังงานลงได้อย่างมากอีกด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติม โคมไฟไฮเบย์ (High Bay) คืออะไร
คลิกค้นหา โคมไฟไฮเบย์ ที่เหมาะกับงาน และความต้องการ
แบ่งประเภท ตามมุมกระจายแสง
มุมการกระจายแสงของโคมไฟไฮเบย์ (High Bay) ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อแสงที่ได้เป็นอย่างมาก การเลือกมุมกระจายแสงที่เหมาะสม มีส่วนช่วยหลายด้าน เช่น
- อาจช่วยให้ลดกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของตัวโคมลงได้ เช่น สามารถใช้โคมไฮเบย์ (High Bay) LED 150W ทดแทนโคมไฮเบย์ (High Bay) LED 200W แทนได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงไปได้อีก
- คลิกเลือกดู โคมไฟไฮเบย์ (High Bay) LED 200W
- คลิกเลือกดู โคมไฟไฮเบย์ (High Bay) LED 150W
อ่านบทความ โคมไฟโรงงานไฮเบย์ LED 100W ใช้แทนโคมไฮเบย์ LED 200W ผลประหยัดพลังงานเกือบ 50%
- ช่วยให้ได้ความสม่ำเสมอของแสง (Uniformity) ที่สูงผ่านเกณฑ์มาตรฐานการส่องสว่าง โดยค่า Uniformity ที่ไม่ดีนั้น จะสังเกตได้ว่า บริเวณพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดวงโคม จะมีความสว่างที่ลดลง เนื่องจากแสงไม่สามารถกระจายตัวส่องเข้ามาพื้นที่ระหว่างโคมไฟได้อย่างเพียงพอ ทำให้เวลาอยู่ในพื้นที่แบบนี้ ส่งผลให้ต้องใช้สายตามากเป็นพิเศษ เนื่องจากแสงไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ อันตรายได้ง่าย
เมื่อมุมกระจายแสงมีส่วนสำคัญต่อแสงที่ได้ แล้วเรามารู้จัก มุมกระจายแสงมาตราฐาน โดยสามารถแบ่งโคมไฟได้ 2 แบบคือ
การกระจายแสงแบบสมมาตร
โดยจะให้แสงเท่าๆ กันในทุกทิศทุกทาง เช่น 120°, 90°, 60° เป็นต้น ซึ่งลักษระการกระจายแสงแบบนี้ จะเป็นคุณสมบัติของมุมกระจายแสงของโคมไฟไฮเบย์ ทั่วไป โดยแสงจะออกมาในลักษณะทรงกรวย เหมาะกับพื้นที่เปิดโล่ง เช่น พื้นที่การผลิตสินค้า, พื้นที่วางสินค้า, พื้นที่ที่ใช้บรรจุภัณฑ์, พื้นที่ สำหรับเป็นลานกิจกรรม หรือพื้นที่โล่งทั่วไป เป็นต้น
โคมไฟไฮเบย์ ที่ใช้ Reflector ตัวเป็นตัวกำหนดรูปแบบการกระจายแสง
รูปเลนซ์ (LENs) ของโคมไฮเบย์ ที่ใช้เป็นตัวกำหนดรูปแบบการกระจายแสง
โดยเราสามารถบังคับให้แสงมีการกระจายแบบสมมาตร ได้ 2 วิธี คือ
- โคมไฟที่ใช้เลนซ์เป็นตัวบังคับแสง เช่น โคมไฮเบย์ UFO High Bay
- คลิกดูรุ่นโคมไฟไฮเบย์ UFO High Bay
- โคมไฮเบย์ (High Bay) ที่ใช้ฝาชี (Reflector) เป็นตัวบังคับแสง ไฮเบย์ และเนื่องจากใช้ ฝาชี ในการกระจายแสง ซึ่งตัวฝาชีนี้ เองที่ช่วยบังแสงที่ออกมาจากเม็ด LED ทำให้ลดแสงแย้งตา (Glare) ลงได้อย่างมาก เหมาะกับการติตั้งทั้งแบบที่ต่ำๆ แบบโลว์เบย์ และติดตั้งที่สูงๆ แบบไฮเบย์
- คลิกดูรุ่นโคมไฟไฮเบย์ฝาชี (Reflector High Bay)
การกระจายแสงแบบไม่สมมาตร
โดยจะมีมุมกระจายแสง แบบนี้ จะมีการกระจายแสงออกมาในลักษณะสีเหลี่ยม และมักจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ในการใช้งานจะเหมาะกับพื้นที่ ที่มีลักษณะเป็นทางยาว เช่น ช่องทางระหว่าง โดยการใช้งานลักษณะนี้ มักจะพบเห็นได้ใน โกดัง คลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีชั้นว่างสินค้าที่สูง เพื่อให้สามารถส่องช่องทางเดินให้สว่าง และมีแสงเพียงพอต่อการอ่านป้ายกำกับสินค้าบนกล่อง
สำหรับไฮเบย์ที่มีการกระจายแสงแบบไม่สมมาตรนี้ โดยเฉพาะ High Bay LED สามารถทำได้โดยการใช้เลนซ์เป็นตัวบังคับแสง และมักจะเรียกว่า Liner ไฮเบย์ (High Bay)
- คลิกเลือก โคมไฟไฮเบย์ LED
การระบายความร้อนแบบธรรมาชาติ (Passive)
โดยโคมไฟประเภทนี้ จะมีพื้นที่ระบายความร้อนขนาดใหญ่ เพียงพอ ให้โคมสามารถระบายความร้อนออกไปให้กับอากาศโดยรอบได้เอง ผ่านครีบระบายความร้อน (Heatsink) ซึ่งเป็นตังถัง (Body) ของตัวโคมไฟเองโดยมีหลากหลายเทคนิคในการระบายความร้อนเช่น
ปั๊มขึ้นรูป (Stamping)
การใช้โคมที่มีลักษณะปั๊มขึ้นรูป (Stamping) ซึ่งทำให้ได้ครีบระบายความร้อนที่บาง และได้พื้นที่ระบายความร้อนขนาดใหญ่ ข้อดีมากๆ ของโคม ที่มีโครงสร้างแบบนี้คือ มีนำ้หนักเบามาก ง่ายต่อการติดตั้ง
คลิกเลือกดูดตัวอย่าง โคมไฮเบย์ปั๊มขึ้นรูป (Stamping LED High Bay)
เทคโนโลยีท่อระบายความร้อน (Heat Pipe)
การใช้เทคโนโลยีท่อระบายความร้อน (Heat Pipe) ช่วย เร่งนำความร้อนออกไปที่ผิวของตัวถังโคมไฟได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับการใช้งาน ในพื้นที่ๆ มีความร้อนสูง
คลิกเลือกดูดตัวอย่าง โคมไฮเบย์ที่ใช้ท่อระบายความร้อนช่วยระบายความร้อน (Heatpipe LED High Bay)
หล่อขึ้นรูป (Die Casting)
การใช้เทคนิคของการหล่อขึ้นรูป (Die Casting) ทำให้ภายในตัวถังของโคมไฟ มีเนื้ออลูมิเนียม ที่เแน่น ไม่มีโพรงอากาศภายใน ทำให้ความร้อนถูกถ่ายเทออกไปที่ครีบระบายความร้อนได้อย่างไหลลื่น และรวดเร็ว และยังทำให้ตัวโคมไฟมีความแข็งแรงอย่างมากอีกด้วย เหมาะอย่างมากกับการใช้ในพื้นที่ๆ อากาศ ถ่ายเทไม่สะดวก ติดบนที่สูงมากๆ ซึ่งในช่วงเวลากลางวันมีความร้อนสูง
คลิกเลือกดูดตัวอย่าง โคมไฮเบย์หล่อขึ้นรูป (Die Cast LED High Bay)
ที่มาของรูปภาพ : https://www.researchgate.net/
การะบายความร้อนโดยใช้อุปกรณ์อื่นช่วย (Active)
ในการระบายความร้อนแบบ Active นี้ จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เป็นตัวคอยช่วยระบายอุณหภูมิความร้อนออกจากโคมไฟ โดยมีหลากหลายรูปแบบเช่น
- การใช้พัดลม เป่าช่วยระบายความร้อน เหมือนกับ CPU ของคอมพิวเตอร์
- การใช้แผ่นไดอะแฟรม (มีลักษณะคล้ายลำโพง) มีการเคลื่อนไหว เพื่อทำให้เกิดลมพัดผ่านโครงสร้าง โคมไฟไฮเบย์ตลอดเวลา
ข้อดีของโคมประเภทนี้
คือมีขนาดเล็ก สามารถใช้ในการตกแต่ง เพื่อซ่อนโคมไฟได้เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้งาน
ในการใช้งานโคมไฟประเภท Active นี้ ควรมีพื้นที่ในการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้โคมสามารถมีอายุการใช้งาน และประสิทธิภาพ ตามคุณลักษณะของดวงโคม
แบบแยกส่วนความร้อน (Thermal Isolation)
โคมไฮเบย์ ประเภทนี้ จะมีอุปกรณ์ขับ (LED Driver) อยู่แยกส่วนกับแผงวงจร LED ทำให้ความร้อนที่เกิดขี้นจากแผงวงจร LED (มีความร้อนสูง) ไม่ถูกถ่ายเทเข้าไปในวงจร LED Driver โดยตรง ส่งผลให้ LED Driver มีอายุการใช้งานยาวนาน และในขณะเดียวกันความร้อนที่เกิดจากการทำงานของ LED Driver เองก็ไม่ไปสะสมเพิ่มในแผงวงจรรวม LED ทำให้เม็ด LED ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกัน
ข้อดี
ข้อดีของโคมไฟลักษณะนี้ คืออายุการใช้งานยาวนาน และมักจะมีประสิทธิภาพโคมที่สูง เหมาะกับการติดตั้งบนที่สูง เนื่องจากประหยัดงบในการดูแลรักษา
แบบอุปกรณ์ขับอยู่บนแผงวงจร LED ( Driver on Board : DOB)
โคมไฮเบย์ ประเภท DOB นี้ จะมีวงจรขับเม็ด LED อยู่บนแผงวงจรเดียวกันกับเม็ด LED เลย โดยโคมลักษณะนี้มักหาพบได้ง่ายตาม ศูนย์ขายอุปกรณ์ช่าง และไฟฟ้าได้ทั่วไป เหมาะกับการใช้งานตามบ้าน หรือ พื้นที่ ที่ไม่ได้มีการควบคุมค่าความสว่าง, พื้นที่ ติดที่ตั้งได้ง่าย ไม่สูงจนเกินไป
ข้อดีของโคมประเภทนี้คือ
- โคมไฟมีขนาดเล็ก และบางลง
- ราคาถูก
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- เนื่องจากทั้งแผงวงจรของอุปกรณ์ชับ (LED Driver) และเม็ด LED อยู่บนแผงวงจรเดียวกัน ทำให้ ความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ทั้งคู่ ทำให้อายุการใช้งานสั่นกว่า และมักจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ด้วย ทำให้ต้องใช้พลังงานมากกว่าโคมประเภท แยกส่วนความร้อน (Thermal Isolation)
- ไม่แนะนำสำหรับงานที่ ต้องติดตั้งสูง และเข้าถึงยาก หรือภายในโรงงาน โกดังสินค้า ที่มีการควบคุมค่าความสว่างของแสงสว่าง ให้เป็นไปตามกฏหมาย เนื่องจากในระยะยาวแล้ว เมื่อรวม ค่าโคมไฟ กับค่าติดตั้ง และค่าไฟฟ้า แล้ว มักจะมีราคาสูงกว่า โคมไฟประเภทแยกส่วนความร้อน (Thermal Isolation)
สรุป
ในการการแบ่งประเภทโคมไฮเบย์ (High Bay) LED สามารถแบ่งตามเกณฑ์ต่างๆ ได้ดังนี้
- แบ่งตามความสูงที่ติดตั้ง โดยจะเรียกชื่อ เรียก 2 แบบคือ
- โคมไฮเบย์ (High Bay)
- โคมโลว์เบย์ (Low Bay)
- แบ่งตามมุมกระจายแสง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ
- มุมกระจายแสงแบบสมมาตร โดยโคม แบบนี้สามารถแบ่งได้ 2 แบบย่อยคือ
- โคมไฟ UFO High Bay
- โคมไฟ Reflector High Bay
- มุมกระจายแสงแบบไม่สมาตร โดยโคมไฟแบบนี้ มักถูกเรียกว่า
- โคมไฟ Linear High Bay
- มุมกระจายแสงแบบสมมาตร โดยโคม แบบนี้สามารถแบ่งได้ 2 แบบย่อยคือ
- แบ่งตามการระบายความร้อน โดยมีชื่อเรียก 2 แบบ คือ
- โคมไฮเบย์แบบพาสซีฟ (Passive) LED High Bay (แนะนำให้เลือกใช้แบบนี้) โดยสามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
- Stamping LED High Bay
- Heat Pipe LED High Bay
- Die Casting LED High Bay
- โคมไฟ LED High Bay แบบ เอกทีฟ (Active) ซึ่ง
- โคมไฮเบย์แบบพาสซีฟ (Passive) LED High Bay (แนะนำให้เลือกใช้แบบนี้) โดยสามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
- แบ่งตามชนิดของ LED Driver โดยสามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ
- แบบแยกส่วน (Isolation LED Driver) ซึ่ง มีความเสถียรสูง อายุการใช้งานยาวนาน เหมาะกับการติดตั้ง ที่ ต้องการค่าความสว่างผ่านเกณฑ์ตามกฏหมาย หรือ พื้นที่นั้น เข้าถึงได้ยาก มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง
- แบบ DOB (LED Driver on Board) เป็นโคม ราคาประหยัด เหมาะกับพื้นที่ๆ ไม่มีการควบคุมแสง หรือ พื้นที่ ที่สามารถเข้าถึง ได้ง่าย