โคมโลว์เบย์​ คืออะไร

โลว์เบย์ (Low Bay)

จริงๆ แล้ว โคมโลเบย์ (Low Bay) ก็คือโคม โคมไฟไฮเบย์ (Highbay) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับโคมไฮเบย์ โดยสามารถเป็น โคมไฟ ติดเพดาน หรือแขวนก็ได้ โดยโคมโลเบย์ จะถูกติดตั้งไว้ในระดับความสูงประมาณอยู่ในช่วง 4.5 – 6 เมตร

เนื่องจากโคมโลเบย์ ถูกแขวนในระดับที่ต่ำ ทำให้ต้องคำนึงถึงเรื่องแสงแย้งตาเป็นอย่างมาก เพราะโคมไฟมีแหล่งกำเนิดแสงที่มีขนาดเล็ก แต่ให้ความสว่างสูง ดังนั้น ผลของแสงแย้งตา อาจทำให้เกิดการ พร่ามัว หรือลดประสิทธิภาพการมองเห็นของเราได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และไม่สบายตา หากต้องอยู่ภายใต้แสงนานๆ

โคมโลว์เบย์ คือ โคม​ ที่ติดตั้งที่ความสูงไม่เกิน 4.5 เมตร
โลว์เบย์​ LED Lighting

รูปที่ 1 : โคมโลย์เบย์ คือโคมไฮเบย์ประเภทหนึ่ง ลักษณะการใช้งานติดตั้งที่ความสูงไม่มาก ต้องระวังเรื่องแสงแย้งตา โคมควรป้องกันแสงแย้งโดยใช้วัสดุที่ปกปิดแหล่งกำหนดแสง ดังเช่นรูปนี้

การลดแสงแย้งตาของโคมไฟโลว์เบย์

เนื่องจากโคมโลว์เบย์ คือ โคมที่ถูกติดตั้งในระดับความสูงที่ไม่มากนัก ทำให้มีโอกาส เกิด แสงแย้งตา (Glare) ซึ่งส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง และความปลอดภัยในการทำงานได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขได้ดังนี้

  1. ใช้ Reflector หรือเรียกอีกอย่างว่าฝาชี  ช่วยในการป้องกันแสงแย้งตา เนื่องจากตัวฝาชี นอกจะทำหน้าที่บังคับแสง แล้วยังสามารถป้องกันไม่ให้คุณมองเห็นแหล่งกำเนิดแสง ได้โดยตรง ช่วยลดโอกาสการมองเห็นผลกระทบของแสงแย้งตา (Glare) ลงไปได้อย่างมาก
  2. ในกรณีที่เป็นโคมไฮเบย์​ LED สามารถใช้ฝาครอบ หรือ เลนซ์ แบบขุ่น เป็นตัวช่วยลดความจ้าของแสงลงได้ โดยปริมาณแสงที่ลดลงมากน้อย แค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของฝาครอบ หือ เลนซ์ ว่ามีสัมประสิทธ์การส่องผ่านมากน้อยแค่ไหน หากต้องการทั้งคุณภาพแสง,​แสงไม่แย้งตา รวมทั้ง การประหยัดพลังงาน ควรเลือกโคมไฟที่มีคุณภาพ

คลิกเลือก โคมไฟไฮเบย์ (และ โลว์เบย์)

หากโคมไฟแสงจ้าเกินไม่เหมาะกับการใช้งาน คุณใช้อะไรแทนได้บ้าง

ในหลายกรณี การติดตั้งโคมไฟโลว์เบย์ อาจจะไม่เหมาะสม อันเนื่องจากความร้อน และแสงที่จ้ามากเกินไปจนทำให้เกิดแสงแย้งตา ถึงแม้จะใช้ Reflector ช่วยแล้ว ก็ทำให้ระดับความสูงจากขอบล่างของ Reflector สูงห่างจากพื้นไม่มาก จะไม่สะดวกในการใช้งานพื้นที่นั้นๆ

Modern T8 LED Fixture for Office and Factory
โคม T8 ใช้ทดแทนโคมโลว์เบย์

รูปที่ 2 : โคมไฟ T8 ประเภทต่างๆ และตัวอย่างการติดตั้งใช้งาน

หากเกิดกรณีข้างต้น คุณสามารถนำโคมเหล่านี้มาใช้ทดแทนได้เช่น

หลอดไฟ T8 LED

หลอดไฟ T8 LED หรือที่เคยรู้จักกันในนามหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (หลอดยาว / หลอดสั้น) นั้น คุณสามารถมองหลอดได้ โดยหลอด T8 นี้ให้แสงในลักษณะไม่สมมาตร มีการกระจายแสงในลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า สามารถให้ความสว่างพื้นขนาดใหญ่ได้ดี

  • ข้อดีของหลอด T8 มีดังนี้
    • หน้าหลอดเป็นสีขาวขุ่น จะให้แสงที่นวลตา ทำให้คุณสามารถมองด้วยตาเปล่าได้
    • ตัวหลอดมีการแผ่ความร้อนน้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
    • มีกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ต่ำ ช่วยให้ประหยัดพลังงาน
    • สามารถเลือกใช้โคมไฟ ที่มีแผ่นสะท้อนแสงช่วยเพิ่มการกระจายแสงเพิ่มเติม ได้
  • ข้อเสีย
    • คุณอาจจำเป็นต้องใช้จำนวนจุดติดตั้ง และจำนวนหลอดต่อจุดเพิ่มมาก กว่าการติดตั้งโคมไฟโลย์เวย์​ แต่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้หลอดไฟ T8 ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะช่วยให้ลดจำนวนจุดติดตั้ง ประหยัดงบประมาณการซื้อหลอด และค่าติดตั้งได้
    • มุมกระจายแสง กว้างมาก ทำให้ถ้าต้องการควบคุมแสงให้ส่องเฉพาะจุด อาจจะต้องพิจารณา โคมแบบอื่น เช่น ดาวน์ไลท์ ดังหัวข้อถัดไป
โคม Downlight ใช้ทดแทนโคม Low Bay

รูปที่ 3 ตัวอย่างโคมไฟดาวน์ไลท์ และการติดตั้งใช้งาน

โคมไฟดาวน์ไลท์ ​(Downlight)

โคมไฟดาวน์ไลท์​มีทั้งแบบกลม และสี่เหลี่ยม โคมมีการกระจายแสงในลักษณะสมมาตร แสงออกทุกทิศทุกทางเท่าๆ กัน  หน้าโคม จะมี 2 แบบคือ

  • โคมหน้าสีขาวขุ่น
  • โคมหน้าใส แต่มีการทำแถบกรองแสง บริเวณกลางโคม

ซึ่งช่วยให้ลดแสงแย้งตา ตัวโคมมีทั้งแบบฝังฝา และติดลอย 

  • ข้อดีของโคมไฟประเภทนี้
    • โคมมีความสวยงาม ติดตั้งง่าย
    • สามารถเลือกมุมกระจายแสงได้คล้ายกับโคมไฟ Low bay และไฮเบย์
    • สามารถเลือกใช้วัตต์ สูงๆ เพื่อค่าลูเมน ช่วยให้แสงสว่างมากยิ่งขึ้นได้
    • มีความร้อนต่ำ สามารถใช้งานได้ดีในห้องปรับอากาศ
  • ข้อเสียของโคมประเภทนี้
    • โคมมักจะมีวัตต์ และประสิทธิภาพไม่สูงเท่าโคมไฟโลว์เบย์ อาจทำให้ต้องใช้จำนวนโคมเพิ่มขึ้น หากต้องความสว่างที่สูง
    • ตัวโคมมักถูกออกแบบมาให้ฝังฝา หรือ ติดลอย แต่ไม่มีจุดยึดแบบห้อยแขวนเหมือนโคมโลว์เบย์

แต่หากคุณต้องการติดตั้งใช้งานโคมไฟในพื้นที่ขนาดใหญ่ และต้องการให้แสงกระจายอย่างสม่ำเสมอมีค่า Uniformity สูงๆ อาจจะต้องพิจารณาโคม Panel ซึ่งอยู่ในหัวข้อถัดไป

โคม Panel Light ใช้ทดแทน Low Bay

รูปที่ 4 : รูปตัวอย่างโคมไฟพาแนลไลท์ และการติดตั้งใช้งาน

โคมพาแนล (Panel Light)

ตัวโคมพาแนลไลท์ จะมีลักษณะสี่เหลี่ยม มีทั้งแบบพื้นผ้า และสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยสามารถนำไปติดตั้ง แบบฝั่งฝา, แบบห้อยดังรูปด้านบน และสามารถใช้วางบนฝาแบบทีบาร์ได้ เป็นอย่างดี และเนื่องจากตัวโคมมีพื้นที่ ให้แสงกระจายได้อย่างทั่วถึง

  • ข้อดีของโคมไฟพาแนล
    • ให้แสงขนาดใหญ่มาก ทำให้มีแสงแย้งตาที่ต่ำมาก จนทำให้คุณสามารถมองแสงจากตัวโคมไฟได้ โดยไม่แสบตา
    • หากติดตั้งอย่างเหมาะสม จะมีค่าความสม่ำเสมอของแสง (Uniformity) ที่สูงมาก เหมาะกับการใช้งาน เช่น สำนักงาน, อ่านหนังสือ เป็นต้น
  • ข้อเสีย
    • เนื่องจากในปัจจุบันมีสินค้าที่ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก โดยโคม ที่ต้องการลดต้นทุนเพื่อจำหน่ายในราคาถูก มักจะลดความแข็งแรงโครงสร้างของโคมพาแนลด้วย ทำให้ถ้าติดตั้งแบบแขวน หรือแบบทีบาร์ ที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรง ตัวโคม จะงอ ได้ ซึ่งถ้าเป็นการติดตั้งบนฝา จะทำให้เกิดช่องว่างบริเวณขอบของตัวโคม ทำให้ไม่สวยงาม

สรุป

จากบทความจะเห็นได้ว่า โคมโลว์เบย์ (Low Bay) คือ โคมไฟไฮเบย์ ประเภทหนึ่ง แต่เหตุที่ถูกเรียกว่า “โลว์เบย์” เกิดจากลักษณะการติดตั้งใช้งานที่ความสู​งไม่เกิน 3.5 เมตร ในการใช้งานโคมประเภทนี้ มีข้อที่ควรคำนึง ก่อนการใช้งานดังนี้

  1. แสงแย้งตา
  2. ความร้อนที่เกิดขึ้น

โดยหากทั้ง 2 ข้อดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งาน สามารถนำโคมไฟประเภทอื่นดัง เช่น รายการด้านล่างมาใช้ทดแทนได้

  • หลอดไฟ T8
  • โคมไฟดาวน์ไลท์ (Downlight)
  • โคมไฟพาแนลไลท์ (Panel Light)

หากคุณมีข้อสงสัยในการใช้งาน ต้องการคำปรึกษา หรือ ขอราคา สามารถคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย