Flicker Free ฮิโร่ รักษาดวงตา ห่างไกลโรคและ เสริมสามัคี

คุณสมบัติ Flicker Free ของทั้งโคมไฟ และหน้าจอ ที่คุณไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าคุณสมบัตินี้จะไม่ได้อยู่ในมาตราฐานและการควบคุมตามข้อกำหนดของ มอก.1955

แต่หากโคมไฟของคุณไม่มี Flicker free จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณและทีมงานลดลงในระยะยาว

Flicker คืออะไร

ขอสรุปนิยามของ Flicker ตาม IEEE standard PAR1789 update (2010) และ Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) ตามหนังสือคู่มือการใช้แสง (เล่มที่ 10, พ.ศ. 2554) ให้ความหมายไว้ว่า

Flicker คือ ระดับของความสว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง (กระพริบ) อย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นเป็นรอบซ้ำๆ ตลอดเวลา โดยเป็นผลมาจากแหล่งจ่ายไฟที่ไม่สามารถรักษาคุณภาพทางไฟฟ้าให้คงที่ได้

Flicker มีกี่ประเภท

Flicker สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้

ชนิดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของความสว่าง (กระพริบ) อย่างรววดเร็ว ในช่วงความถี่ 3-70 Hz. แต่คุณยังคงสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า

โดยการเกิดในลักษณะนี้ อาจจะเป็นการจงใจให้เกิดอย่างตั้งใจ เช่น ไฟดิสโก้ หรือ ไฟแสงสีในคอนเสิร์ต เพื่อทำให้เกิด Stroboscopic effect (การทำให้คุณมอง สิ่งที่เคลื่อนไหวมีการชะลอหรือหยุดการเคลื่อนไหว)

ชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เป็นระดับการเปลี่ยนแปลงของความสว่าง (กระพริบ) อย่างรวดเร็ว ที่มีความถี่อยู่ในช่วง 60-90 Hz. ซึ่งคุณไม่สามารถมองเห็ได้ด้วยตาเปล่า แต่คุณสามารถเช็ดได้อย่างง่าย โดยการนำกล้องจากโทรศัพท์ส่อง ไปที่โคมไฟ หรือ หน้าจอ หาก มีเส้นแนวขวางวิ่งเต้นอยู่ แสดงว่า มี Flicker 

คลิกเลือก โคมไฟไฮเบย์​ ที่มี Flicker Free เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ถ่ายรูปสวยไม่กระพริบ

หาโคมไฟของคุณมี Flicker จะผลกระทบของต่อสุขภาพ และประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร

ในสภาพแวดล้อมบ้างแห่งการมี ต้องการ การควบคุมการกระพริบของแหล่งกำเนิดแสง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ได้ เช่น

  • พื้นที่ ที่ต้องมีการใช้สายตาในการอ่านตัวอักษร เช่น ในห้องเรียน, สำนักงาน, พื้นที่ในโกดัง และโรงงานอุตสาหกรรม
  • พื้นที่ ที่มีผู้ป่วย หรือ เด็กเล็ก รวมถึงผู้สูงอายุ เช่น โรงพยาบาล, สถานรับเลี้ยงเด็ก, สถานที่พักฟื้นผู้สูงอายุ เป็นต้น

โดยผลกระทบของ Flicker ที่มีผลต่อสุขภาพต่อตัวคุณ สามารถแบ่งได้ตามประเภทของการมองเห็น ดังนี้

ผลกระทบ จากการกระพริบที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

จะส่งผลต่อสุขภาพ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนสำคับคนที่มีปัญหาสุขภาพทางสมอง รวมถึงโรค Photosensitive epilepsy (โรคลมชัก) ในผู้ที่มีความไวต่อแสง

โดยสามารถเกิดอาการกำเริบได้ แม้ว่าจะได้รับแสงสั้น โดย 75% ของบุคคลเหล่านี้ จะมีความไวต่อแสงตลอดชีวิต

ผลกระทบของ การกระพริบที่ คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

จากผลการวิจัย ตามเอกสารอ้างอิงด้านล่าง พบว่าการกระพริบที่มองไม่เห็นถูกส่งผ่านเข้าจอประสาทตา (เรตินา) ซึ่งมีหน้าที่รับภาพ ที่อยู่ด้านหลังดวงตา ผ่านรูม่านตาและเลนซ์

โดยการกระพริบของแสงที่มีความถี่สูงนี้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว และความเมื่อยล้าในตา ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวดวงตา ขณะอ่านตัวหนังสือ และทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงขณะ ใช้สายตาสำหรับการมอง ค้นหาสิ่งของต่างๆ

นอกจากนี้ Flicker ยังเป็นตัวกระตุ้นอาการไมเกรน และปวดหัว

โดยจากการวิจัย ตามเอกสารอ้างอิงด้านล่างในปี 1989 พบว่า จากการทดลองเปรียบเทียบการทำงานของพนักงาน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำงานภายใต้แสงที่มี Flicker ที่มีอัตราการกระพริบของแสงอยู่ที่ 100 Hz. (100 ครั้งต่อวินาที) เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่นั่งทำงานภายใต้แสงที่มี Flicker Free พบว่า

ภายใต้การทำงานกับแสงที่มี Flicker Free สามารถ โอกาสอาการปวด ลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ทำงานอยู่ภายใต้แสงที่มี Flicker

และจากอาการเหนื่อยล้า ปวดหัว และไม่เกรน ยังเป็นต้นเหตุทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านลดลง ส่งผลต่อคุณภาพงานที่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ในกลุ่มคนทีมีอาการอ่อนไหวทางอารมณ์ Flicker ยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความรำคาญ และอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมกร้าวร้าวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

และในปี 2008 ได้มีการวิจัยปัญหาของ Flicker ที่เกิดจากแสง LED โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) ได้ร่วมกับคณะกรรมการ P1789 ได้ระบุปัญหาหลักที่เกิดจาก Flicker ที่มีต่อสุขภาพคุณดังนี้

  • เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการลมชักในบุคคลที่มีรอยโรค
  • ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในกลุ่มคนที่มีการออทิซีม
  • เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการ ปวดหัว และไมเกรน
  • ทำให้เกิดโรคตาล้า (Asthenopia) ซึ่งเป็นสภาวะที่ดวงตาอ่อนล้า จากการผ่านการใช้งานอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการมองเห็น และการอ่านลดลง และเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว

อะไรทำให้เกิด Flicker

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด Flicker ทั้ง Visible และ Invisible ของหลอดไฟทั้งหลอดทั่วไป และ LED สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การใช้อุปกรณ์ขับ LED (LED Driver) ที่ไม่มีคุณภาพ
  • การเลือกใช้ระบบปรับลดแสง (DIM) ที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่สามารถทำงานรวมกับชุด LED ได้อย่างเหมาะสม

สรุป

การที่โคมไฟ หรือ หน้าจอของคุณมีคุณสมบัติ Flicker Free จะช่วยให้ทั้งตัวคุณ และคนรอบข้าง สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบ ที่มีผลต่อสุขภาพ และอารมณ์ ดังนี้

  • โรคตาล้า
  • อาการปวดหัว และไมเกรน
  • ลดประสิทธิภาพในการอ่าน และการทำงาน
  • ทำให้เกิดอารมณ์กร้าวร้าวในบุคคลที่มีความอ่อนไหวทางอารมณ์
  • เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการชักกระตุก ในกลุ่มคนที่มีโรคนี้อยู่แล้ว

ดังนั้น หากคุณต้องการ ลดการใช้พลังงาน และยังคงทั้งคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน ของทั้งตัวคุณเอง และทีมงาน ต้องเลือกโคมไฟที่มีคุณภาพปราศจาก Flicker (Flicker Free)

และไม่เฉพาะเพียงแต่ โคมไฟเท่านั้น ยังรวมไปถึงหน้าจอต่างๆ (Monitor) ทั้ง จอคอมพิวเตอร์, TV LED, และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถกำหนดแสงและ คุณต้องใช้สายตามองนานๆ อีกด้วย