Showing 21–37 of 37 results


โคมไฟถนน LED (Street Light LED) และหลอดไฟ LED สำหรับโคมไฟถนน มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากจากในอดีตมาก จนสินค้าบางรุ่น มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า หลอดแก๊ส หลายเท่าแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็มีตัว โคมไฟถนน LED และตัวหลอดไฟ LED ก็มีราคาที่ถูกลงมาอย่างมาก จนใกล้เคียง หรือถูกกว่าโคมไฟถนนแบบดังเดิม ส่งผลให้จุดคืนทุนเร็วกว่าในอดีตมาก เพียงใช้ไม่นานก็ สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้า ไปได้อย่างมาก โดยเมื่อเที่ยบกับ อดไฟ HPS(หลอดไฮเพรสเชอร์โซเดียม) และหลอดไฟ MH (หลอดเมทัลฮาไลด์) ได้ โดยสามารถให้แสงสว่างเท่าเดิม หรือดีกว่าในขณะที่ให้ผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ได้ไม่น้อยกว่า 70% เลยที่เดียว และด้วยความที่ตัว โคมไฟ และหลอดไฟ LED สำหรับไฟถนน เอง ก็มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวกว่าหลอดแบบแก๊ส ดังเดิม ไปไม่น้อยกว่า 5 เท่า แล้ว แม้จะเปิดใช้งานแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วันก็ตาม ทำให้ต้นทุนของค่าบำรุงรักษา ต่ำลงไปอีกมาก

โคมไฟถนน ใช้หลอดอะไรบ้าง

โคมไฟถนน ใช้หลอดอะไรบ้างนั้น ขึ้นกับชุดคอนโทรลเกียร์ (Control Gear) โดย สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง ได้แบ่งตามชนิดของแหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ออกได้ 6 ประเภทดังนี้
หลอดยาว T8 พร้อมโคมไฟถนน

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) 

โคมไฟถนนที่ใช้หลอดประเภทนี้ นิยม ใช้ในถนนท้องถิ่น เช่น ในตรอก ซอก ซอย ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : ประมาณ 40-80 lm/w อายุการใช้งาน (Lifetime) : ประมาณ 9,000 - 15,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • มีค่าดัชนีความถูกต้องของสี (CRI) สูง สามารถมองเห็นสีใกล้เคียงกับมองภายใต้ดวงอาทิตย์ สูงมาก
  • แส่งไม่จ้า แสงแย้งตา (Glare) ต่ำ เนื่องจากมีรูปแบบการกระจายแสงแบบบ กระจาย
  • แผ่ความร้อนออกมาน้อย
ข้อเสีย
  • เนื่องจากประสิทธิภาพต่ำ ทำให้มีความสว่างไม่มาก
  • หากเปิด-ปิด บ่อยจะเสียหายเร็วกว่าหลอดไฟชนิดอื่นๆ
หลอด Metal Halide

หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp)

ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : 60-100 lm/w อายุการใช้งาน  (Lifetime) : ประมาณ 8,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • รูปทรงหลอดมีขนาดเล็ก
ข้อเสีย
  • อายุการใช้งานสั้นกว่าหลอดไฟประเภทอื่น
  • ใช้เวลา ประมาณ 1-2 นาที หลังจากหลอดไฟจุดติดแล้ว จึงจะสว่างเต็มที่
  • ใช้เวลานานประมาณ 10-15 นาที เพื่อรอให้หลอดเย็นตัว จนสามารถกลับมาจุดติดไฟได้อีกครั้ง
  • ดัชนีความถูกต้องชองสี (CRI) อยู่ประมาณกลางๆ ไม่สูงมาก
  • อุณหภูมิสี (CCT) ที่แต่งต่างกัน มีผลต่อแสงที่ออกมาต่างกันมาก
หลอด Metal Halide
หลอดปรอทความดันไอสูง

หลอดปรอทความดันไอสูง (Mercury Vapor Lamp)

ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : 50-80 lm/w อายุการใช้งาน  (Lifetime) : ประมาณ 8,000-24,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • รูปทรงหลอดมีขนาดเล็ก
  • อายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
  • ประสิทธิภาพต่ำ
  • ใช้เวลา ประมาณ 4-5 นาที หลังจากหลอดไฟจุดติดแล้ว จึงจะสว่างเต็มที่
  • ใช้เวลานานประมาณ 5-15 นาที เพื่อรอให้หลอดเย็นตัว จนสามารถกลับมาจุดติดไฟได้อีกครั้ง
  • ดัชนีความถูกต้องชองสี (CRI) อยู่ประมาณกลางๆ ไม่สูงมาก
  • อุณหภูมิสี (CCT) ที่แต่งต่างกัน มีผลต่อแสงที่ออกมาต่างกันมาก
Low Pressure Sodium Lamp

หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ (Low Pressure Sodium Lamp)

ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : 120-200 lm/w อายุการใช้งาน  (Lifetime) : ประมาณ 16,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • มีประสิทธิภาพความส่องสว่างสูง และฟลักซ์แสงสว่าง จะลดลงค่อนข้างน้อยตามอายุการใช้งาน
ข้อเสีย
  • ดัชนีความถูกต้องชองสี (CRI) ต่ำมาก ทำให้เห็นสีของวัตถุผิดเพี้ยนไปจากที่มองภายใต้แสงอาทิตย์อย่างมาก
  • หลอดขนาดใหญ่
  • ใช้เวลา ประมาณ 10 นาที หลังจากหลอดไฟจุดติดแล้ว จึงจะสว่างเต็มที่
  • ใช้เวลานานประมาณ 3 นาที เพื่อรอให้หลอดเย็นตัว จนสามารถกลับมาจุดติดไฟได้อีกครั้ง
Low Pressure Sodium Lamp
หลอดโซเดียมความดันไอสูง

หลอดโซเดียมความดันไอสูง (High Pressure Sodium Lamp)

ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : 70-130 lm/w อายุการใช้งาน  (Lifetime) : ประมาณ 24,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • มีอายุการใช้งานยาว 
  • หลอดมีขนาดเล็ก
ข้อเสีย
  • ดัชนีความถูกต้องชองสี (CRI) ต่ำ ทำให้เห็นสีของวัตถุผิดเพี้ยนไปจากที่มองภายใต้แสงอาทิตย์อย่างมาก และไม่เหมาะสำหรับบริเวณที่ต้งอการความสว่างมาก เช่น ทางด่วน หรือ สี่แยก
  • หลอดขนาดใหญ่
  • ใช้เวลา ประมาณ 10 นาที หลังจากหลอดไฟจุดติดแล้ว จึงจะสว่างเต็มที่
  • ใช้เวลานานประมาณ 1 นาที เพื่อรอให้หลอดเย็นตัว จนสามารถกลับมาจุดติดไฟได้อีกครั้ง
โคมไฟถนน LED
หลอดไฟ LED Bulb E40

หลอดไฟ LED (LED Lamp)

ประสิทธิภาพความส่องสว่าง (Efficiency) : 100-190 lm/w อายุการใช้งาน  (Lifetime) : ประมาณ 36,000 - 100,000 ชั่วโมง ข้อดี
  • มีอายุการใช้งานยาว 
  • หลอดมีขนาดเล็ก
  • ดัชนีความถูกต้องชองสี (CRI) สูงมาก ( 70 - 90 )
  • เปิด - ปิด แล้วติดทันที
  • มีรูปทรงที่หลากหลาย ดูทันสมัย
  • นำ้หนัก เมื่อรวมกับ ชุดควบคุมแล้ว ยังคงมีน้ำหนักที่เบามาก
ข้อเสีย
  • สินค้าในตลาด มีคุณภาพหลากหลาย
  • เนื่องจากเป็นอีเล็ทรอนิกส์ ทั้งหมด ทำให้มีโอกาสเสียหายได้ง่าย จากไฟกระชาก และฟ้าผ่า จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติม
โคมไฟถนน LED
หลอดไฟ LED Bulb E40

โคมไฟถนน LED มีกี่ประเภท ที่สามารถทดแทนโคมไฟถนนเดิม

จากรูปร่างของหลอดไฟโคมถนนแบบดังเดิม หากเราต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยการใช้หลอดไฟ LED หรือ โคมไฟถนน LED มาทดแทนสามารถ ทำได้ 3 แบบหลักๆ ดังนี้
โคมไฟถนน T8 และ หลอดไฟ LED T8 Mobile

1. โคมไฟถนน ประเภทหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp)

โคมไฟถนน ที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) สามารถใช้ตัวโคมทรงลักษณะแบบเดิม แต่เปลี่ยนตัวหลอด เป็นหลอดยาว T8 LED แทนได้ โดยต่อไปตรงเข้าไปที่ขั้วหลอดได้เลย สามารถตัดชุด บัลลาสต์ (Ballast) และสตาร์เตอร์ (Starter) ออกได้เลย ทำให้นำ้หนักตัวโคมไฟรวม ลดลงไปอีก
สำหรับ โคมไฟถนน ที่ใช้หลอดแก๊สต่างๆ ที่ใช้หลอดไฟประเภทดังต่อไปนี้ 
  • หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp)
  • หลอดปรอทความดันไอสูง (Mercury Vapor Lamp)
  • หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ (Low Pressure Sodium Lamp)
  • หลอดโซเดียมความดันไอสูง (High Pressure Sodium Lamp)
สามารถทำได้ 2 วิธี คือวิธีที่ 2 และ 3 ดังต่อไปนี้
โคมหลังเต่า และ หลอดไฟ LED E40 Mobile

2. หลอดไฟถนน LED ขั้ว E40 เปลี่ยนทดแทน

โดยมีข้อคำนึงหลัก ก่อนการใช้งาน คือขนาดรูปร่างหลอด LED สามารถใช้ทดแทนหลอดเดิมได้หรือไม่ หากสามารถใส่ได้ เราสามารถตัดชุด Control Gear ออก และต่อไฟฟ้า 220V เข้าที่ขั้วหลอดได้โดยตรง  ข้อดี
  • ขอดีที่เห็นได้ชัดของการทำวิธีนี้คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ สามารถเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้จุดคืนทุน (ROI) รวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน
  • น้ำหนักรวมของโคมไฟถนน ลดลงไปอย่างมาก
ข้อเสีย
  • รูปแบบการกระจายแสง ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากตัวโคมไฟถนนเดิม และหลอดไฟ LED ไม่ได้ถูกออกมาอย่างเฉพาะเจาะจง 
  • อายุการใช้งานหลอดไฟ LED เองอาจลดลง เนื่องจาก ไม่สามารถระบายความร้อน ออกสู่ภายนอกได้โดยตรง แต่จะมีความร้อนส่วนหนึ่งถูกกักเก็บอยู่ในโคมไฟถนน ทำให้ อาจมีค่าดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถเลือกกำลังไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงมากๆ ได้ตามที่ต้องการ
โคมไฟถนน LED

3.เปลียนเป็นโคมไฟถนน LED โดยเฉพาะ

การใช้โคมไฟถนน LED ทดแทนโคมไฟถนนเดิม จะได้แสงที่มีคุณภาพมากที่สุด และอายุการใช้งานของสินค้ายาวนานเป็นไปตามที่กำหนด  ที่สำคัญ สามารถเลือกกำลังไฟฟ้า ได้อย่างเต็มที่ และรูปแบบการกระจายแสงได้หลากหลาย ขึ้นกับลักษณะของถนนที่ต้องติดตั้ง ทำให้ไดแสงที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน ตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ ต้องลงทุนสูงกว่า แบบเปลี่ยนใช้หลอดไฟ LED ขั้ว E40 แต่ในระยะยาวแล้ว ค่าดูแลรักษาจะลดลงมาช่วยทดแทนอย่างเห็นได้ชัดเจน
โคมไฟถนน LED

การควบคุมการกระจายแสง (Control of Distribution)

การควบคุมการกระจายแสง เพื่อลดปัญหาแสงจ้า (Glare) ไม่ให้เกิดเป็นมลภาวะทางแสง ที่ไปรบกวนผู้ขับขี่ เมื่อขับเข้ามาในระยะใกล้กับแหล่งกำเนิดแสง (โคมไฟถนน ) โดยรูปแบบการกระจายแสงที่เหมาะสม กับการใช้งาน โคมไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ แบบ Cutoff และ Semi-Cutoff โดยมีคุณสมบัติการการจายแสงดังนี้
Control Distribution Line at angle 80-90 Degree

รูป SP-9 เส้นที่มุม 80 และ 90 องศา

การกระจายแสงแบบ Cutoff

รูปแบบ Cutoff นี้ จะพิจารณาจากตำแหน่ง จุดศูนย์กลางการส่องสว่าง ในแนวดิ่งเป็นมุมขึ้นไป 90 องศา และที่มุม 80 องศา โดยเหนือเส้นของมุมดังกล่าวค่าลูเมนแสงจะต้องมีค่าไม่เกินดังนี้
ที่มุม 90 องศา ขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 2.5% ที่มุม 80 องศา ขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 10%
โคมไฟถนน ที่มีการกระจายแสงแบบ cutoff นี้เหมาะสมกับการติดตั้ง
ทางหลวงสายหลัก ที่ใช้ความเร็วสูง

การกระจายแสงแบบ Semi-Cutoff

รูปแบบ Semi-Cutoff นี้ จะพิจารณาที่ จะพิจารณาค่าลูเมนที่ มุม เงย 90 องศา และมุมก้ม 80 องศา นับจากตำแหน่ง จุดศูนย์กลางการส่องสว่าง โดยเมื่อเทียบกับ Cutoff แล้ว จะยอมให้มีค่ามากขึ้นได้ 2 เท่า รูปแบบ Semi-Cutoff นี้ จะพิจารณาจากตำแหน่ง จุดศูนย์กลางการส่องสว่าง ในแนวดิ่งเป็นมุมขึ้นไป 90 องศา และที่มุม 80 องศา โดยเหนือเส้นของมุมดังกล่าวค่าลูเมนแสงจะต้องมีค่าไม่เกินดังนี้
ที่มุม 90 องศา ขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 5% ที่มุม 80 องศา ขึ้นไป ต้องมีค่าไม่เกิน 20%
โคมไฟถนน ที่มีการกระจายแสงแบบ semi-cutoff นี้เหมาะสมกับการติดตั้ง
  • ทางหลวงที่มีการใช้ประโยชน์ ข้างทาง เช่น ชุมชน,
  • บริเวณทางรวม ทางแยก เป็นต้น

มาตราฐานความสว่างโคมไฟถนน

โคมไฟถนน ควบคุมการกระจายแสงแบบ Cutoff

ชนิดการกระจาย
MH ≤ 2.75
Type III
พิสัยการกระจาย
MH 2.25 - 3.75
Type แบบพิสัยปานกลาง
คุณสมบัติการกระจาย
ค่าลูเมน 90° : cd < 2.5% 80° : cd < 10% ของค่าลูเมนที่กำหนด

โคมไฟถนน ควบคุมการกระจายแสงแบบ Semi-Cutoff

ชนิดการกระจาย
MH > 2.75
Type IV
พิสัยการกระจาย
MH 3.75 - 6.0
Type แบบพิสัยยาว
คุณสมบัติการกระจาย
ค่าลูเมน 90° : cd < 5% 80° : cd < 20% ของค่าลูเมนที่กำหนด
ชนิดการกระจาย MH ≤ 2.75 < 2.75
Type III IV
พิสัยการกระจาย MH 2.25 - 3.75 3.75 - 6.0
Type แบบพิสัยปานกลาง แบบพิสัยยาว
การกระจายแสง ค่าลูเมน 90° : cd < 2.5% 80° : cd < 10% ของค่าลูเมนที่กำหนด 90° : cd < 5% 80° : cd < 20% ของค่าลูเมนที่กำหนด
Type Cutoff Semi-Cutoff

ตาราง SP-3 ข้อกำหนดโคม Cutoff และ Semi-Cutoff และการใช้งาน

ตาราง SP-4 : ความเข้มการส่องสว่าง ต่ำสุด แยกตามประเภททางหลวง (กรมทางหลวง, 2522)

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง พื้นที่ชานเมือง พื้นที่นอกเมือง
ทางหลวงพิเศษ 21.5 (1.43) 15 (1.00) 10.75 (0.72)
ทางแยก 21.5 (1.43) 21.5 (1.43) 15 (1.00)
ทางหลวงสายหลัก 21.5 (1.43) 13 (0.87) 9.7 (0.65)
ทางหลวงสายรอง 13 (0.87) 9.7 (0.65) 6.5 (0.43)
ถนนท้องถิ่น 9.7 (0.65) 6.5 (0.43) 2.1 (0.14)
หมายเหตุ กำหนดให้ 1 cd / m2 = 15 lux (ผิวทางลาดยาง)
  • Emin / Eav ≥ 1 / 2.5
  • Emin / Emax ≥ 1 / 6
โดยที่
  • Emin : ค่าความสว่างต่ำสุด
  • Emax : ค่าความสว่างสูงสุด
  • Eav : ค่าความสว่างเฉลี่ย

ทางหลวงพิเศษ

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง 21.5 (1.43)
พื้นที่ชานเมือง 15 (1.00)
พื้นที่นอกเมือง 10.75 (0.72)

ทางแยก

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง 21.5 (1.43)
พื้นที่ชานเมือง 21.5 (1.43)
พื้นที่นอกเมือง 15 (1.00)

ทางหลวงสายหลัก

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง 21.5 (1.43)
พื้นที่ชานเมือง 13 (0.87)
พื้นที่นอกเมือง 9.7 (0.65)

ทางหลวงสายรอง

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง 13 (0.87)
พื้นที่ชานเมือง 9.7 (0.65)
พื้นที่นอกเมือง 6.5(0.43)

ถนนท้องถิ่น

พื้นที่ Eav ในแนวราบต่ำสุด lux (cd/m2)
พื้นที่ในเมือง 9.7 (0.65)
พื้นที่ชานเมือง 6.5 (0.43)
พื้นที่นอกเมือง 2.1 (0.14)
หมายเหตุ กำหนดให้ 1 cd / m2 = 15 lux (ผิวทางลาดยาง)
  • Emin / Eav ≥ 1 / 2.5
  • Emin / Emax ≥ 1 / 6
โดยที่
  • Emin : ค่าความสว่างต่ำสุด
  • Emax : ค่าความสว่างสูงสุด
  • Eav : ค่าความสว่างเฉลี่ย
สำหรับการติดตั้ง ไฟส่องสว่าง บริเวณทางแยก และวงเวียน จะต้องสามารถให้ความสว่างไม่น้อยกว่าตารางที่ ST-4 และจะต้องมีความสว่าง ไม่น้อยกว่า บริเวณช่องทางแยก
ในกรณีที่วงเวียนมีคันหิน (Crub) จะต้องออกแบบให้ความสว่าง ณ จุดใดๆ บนคันหิน ภายในวงเวียน ไม่น้อยกว่า 10 lx (ลักซ์)

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ โคมไฟถนน LED

ทำไมขับรถบนถนนที่ใช้แสงสว่างจาก โคมไฟถนน LED แล้วแสบตา

สาเหตุที่มีแสงแย้งตาจากโคมไฟถนน LED เกิดจากการเลือกมุมองศาที่ไม่ได้มาตราฐานไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง และการใช้สีของแสง (CCT) ที่ไม่เหมาะสมกับความเร็วของการใช้งาน

การใช้งานโคมไฟถนน หากเป็นถนนขนาดเล็ก เป็นถนนที่รถทุกประเภทใช้รวมกัน สามารถใช้แสงสีขาวเดย์ไลท์ ได้ แต่หากเป็นถนนขนาดใหญ่ รถใช้ความเร็วสูง ควรใช้แสงสีโทนเหลือง (Warm White) เนื่องจากสายตาของคุณจะปรับสายตามองเห็นได้ดีกว่า แสงสีอื่นๆ และในกรณีที่ฝนตกแสงสะท้อนของแสงกับเม็ดฝนก็ลดลง เมื่อเทียบกับแสงสีขาว

 

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโคมไฟถนน LED มักมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  • คุณภาพของตัวโคมไฟเอง เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากทำให้มีการลดต้นทุนการผลิตด้วยการลดคุณภาพของโคมไฟ ส่งผลต่อโคมไฟหลายประการเช่น
    • ความสว่างไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
    • อายุการใช้งานไม่ได้ตามที่กำหนด
  • ไม่มีการต่ออุปกรณ์ป้องกัน ไฟกระชาก, ไฟเกิน, ฟ้าผ่า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักจากธรรมาชาติที่ทำให้โคมไฟเสียหาย

โคมไฟราคาแพง และราคาถูก มีจุดที่แตกต่างกันหลักๆ 3 ส่วนคือ

  1. LED Chip หากเป็นโคมที่มีคุณภาพดี จะใช้เม็ด LED จากบริษัทชั้นนำของโลกที่เชื่อถือได้ โดยเม็ด LED เหล่านี้จะผ่านการทดสอบ LM-80 ซึ่งในบางรุ่นมีอายุการใช้งานตามมาตราฐาน TM-21 ยาวนานเกินกว่า 100,000 ชั่วโมงไปแล้ว
  2. ชุดระบายความร้อน (Heat Sink) โคมที่มีคุณภาพสูง มักจะใช้ชุดระบายความร้อนที่มีคุณภาพ ไม่ทำให้ระบบร้อนจนเกินไป ตามข้อกำหนดของ
  3. อุปกรณ์ขับหลอด LED (LED Driver) โดย LED Driver ที่ได้มาตราฐานจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวนต่างๆ
  4. อุปกรณ์ป้องกันไฟเกิน, ไฟกระชาก, ฟ้าผ่า ในโคมที่มีคุณภาพ จะมีอุปกรณ์เหล่านี้ติดตั้งเพื่อป้องกันดวงโคม ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มักจะเป็นเหตุที่ทำให้ โคมไฟเสียหายได้บ่อยๆ

เกิดจากการติดตั้งโคมไฟไม่ได้มาตราฐาน ทั้งที่มีปัญหามาจากมุมกระจายแสงของโคมไฟเอง และการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม เช่น ติดตั้งต่ำเกินไป หรือห่างเกินไป เกินระยะการกระจายแสง ส่งผลให้มีจุดสว่าง และมึดระหว่างเสาไฟอย่างชัดเจน

สรุป

ในการเลือกใช้โคมไฟถนน ให้เหมาะสมนั้น มีสิ่งที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นดังต่อไปนี้
  • ประเภทถนน ซึ่งเป็นตัวกำหนด ค่าความสว่างต่ำสุด ตามมาตราฐาน กรมทางหลวง
  • ความกว้างถนน เพื่อเลือก รูปแบบการกระจายแสง และความสูงในการติดตั้งดวงโคมไฟถนน
  • อุณหภูมิสีของแสง (CCT) เหมาะสมตามสภาวแวดล้อม และความเร็วรถ
  • ค่าความถูกต้องของสี (CRI) ให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้รถ ใช้ถนน และการใช้ประโยชน์โดยรอบ
  • ค่าพลังงานไฟฟ้า